14 ธ.ค. 2554

เทคโนโลยีของเว็บไซต์์

􀂄 Web 1.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว (Read-only) เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่
สามารถแก้ไขข้อมูลหน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ (Webmaster) เป็น
เว็บไซต์ที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บไซต์ดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บ
รุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ภาษา html เป็นภาษาสำหรับการพัฒนา
􀂄 Web 2.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ (Read-Write)เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่
พัฒนาต่อจาก Web1.0 เป็นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้
เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก (Weblog) วิกีพีเดีย (Wikipedia) เป็นต้น ซึ่ง Web 2.0 จะ
ใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้ด้วย
􀂄 Web 3.0 ผู้เข้าชมสามารถอ่าน เขียนและจัดการ(Read-Write-Execute) เทคโนโลยี
เว็บ 3.0 คือจากที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านและเพิ่มข้อมูล ผู้ใช้ก็จะสามารถปรับแต่งแก้ไข
ข้อมูลหรือระบบได้เองอย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งในส่วนของเว็บ 3.0 นั้นในเมืองไทย
กำลังจะนำมาใช้งานในอนาคต เทคโนโลยีบางอย่างที่คาดว่าจะถูกนำมาใช้ใน Web
3.0 ได้แก่
- Artificial Intelligence (AI)  แปลตามพจนานกรมมันคือ ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่
เรียกกันว่า สมองกล เป็นสมองกลแบบเดียวกันในหุ่นยนตร์นี่เอง มันจะเป็นจุดเด่น
ที่จะทำให้เว็บเราตอบสนองผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด หรือถึงขั้นที่ว่ารู้ความ
ต้องการของผู้ใช้ และแสดงข้อมูลออกมาได้อย่างตรงใจ ตัวอย่างที่มีการนำมาใช้
งาน เช่น Search Engine Google เมื่อเราต้องการค้นหาข้อมูลด้วยคำว่า Thailand
แล้วสะกดผิด Google สามารถรู้ได้ว่าคำที่เราต้องการค้นหาคือคำว่า Thailand เป็นต้น
Semantic Web and SOA (Service-oriented architecture) SOA เป็นเรื่องของการ
แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างระบบที่ต่างกัน เช่น เว็บ TOSDN ทำให้เกิดฐานข้อมูล
ของโลกขึ้นมาโดยข้อมูลทั้งหมดจะเข้าถึงกัน ไม่เฉพาะแค่ตัวอักษรเท่านั้น แต่จะรวม
ไปถึงข้อมูลรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่เราสามารถค้นหาได้โดยไม่ต้องพึ่งการค้นหาโดยพิมพ์ Keyword แบบเก่าๆ เช่น อยากค้นหาคนที่หน้าเหมือนผู้ใช้งานก็เอารูปผู้ใช้งานไป ค้นหา จากนั้นมันจะไปเทียบหน้า แล้วแสดงหน้าคนเหมือนผู้ใช้ออกมาหรือต้องการเพลงที่มีทำนองแบบไหน ก็เอาเพลงไปค้นหา แล้วมันก็จะแสดงเพลงที่มีทำนองเดียวกัน หรือลักษณ์ใกล้กันออกมา
 3D หรือ Web3D Consortium ปกติเราเห็นเว็บเป็นหน้าเรียบ ๆ แบบ 2 มิติ (2D)
แต่ใน Web 3.0 อาจจะได้เห็น 3 มิติ (3D) เช่น ต้องการซื้อของในเว็บไซต์ ผู้ใช้ก็
ให้ตัวเราในเว็บที่เป็น 3D เดินเข้าร้านไปซื้อของในร้านค้าโลกออนไลน์ โดย
ระหว่างซื้อก็สามารถสนทนาถึงเรื่องสินค้าและร้านนั้นได้ เช่น Dzzd.net
- Composite Applications เป็นการผสมบริการระหว่างกัน เช่น การดึงบริการ
จากเว็บไซต์รูปแบบหนึ่ง มาใช้งานในเว็บไซต์อื่นๆ ได้ด้วยเสมือนเป็นเว็บไซต์เดียวกัน
- Metadata (Data About Data) คือ การอธิบายข้อมูลด้วยข้อมูล โดยมันจะทำการ
คำนวณว่าข้อมูลที่ใช้งานอยู่มีข้อมูลใดสัมพันธ์กันบ้างที่สามารถอธิบายข้อมูล
ตัวมันเองได้ เช่น ดูข้อมูลของ Tosdn มันก็จะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันคือ Php, Asp, Perl

IP address

IP ทำหน้าที่ จัดขนาดข้อมูลให้พอเหมาะและเลือกเส้นทางที่เหมาะสม เพื่อจัดส่ง Datagram
โดยที่ IP มีรูปแบบการส่ง ดาต้าแกรม 2 แบบ คือ Unreliable , Connectionless
- Unreliable คือ IP ไม่มีกลไกรับประกันว่า Datagram ที่ส่งจะไปถึงปลายทางได้สำเร็จ หากมีความผิดปกติขึ้นระหว่างการนำส่ง จะทำการทิ้ง datagram แล้วรายงานปัญหากลับไปด้วยโปรโตคอลICMP
 -Connectionless คือ IP ไม่สร้างการเชื่อมโยง เพื่อกำหนดเส้นทางลำเลียงระหว่างต้นทางและปลายทาง และไม่เก็บสถานะของ Datagram ที่ส่งออกไปเป็นอิสระต่อกัน

 IPv4 มีการใช้งานมาตั้งแต่1981 ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 ส่วนคั่นด้วยจุด
โดยตัวเลขแต่ละตัวมีค่าตั้งแต่0 จนถึง 255 เช่น 205.46.117.104
 ในการทดลองพบว่า IPv4 มีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานและ จำนวนแอดเดรส
ที่มีอยู่น่าจะเพียงพอสำหรับจำนวนผู้ใช้งาน
ปัญหาของ IPv4
 -หมายเลข IP address ที่มีให้ใช้งานใกล้จะหมด
- ปัญหาการตรวจสอบเส้นทาง ทำได้ช้า
- ความปลอดภัย
-คุณภาพของบริการ (QoS)
IPv6
- IPv6 ( ใช้บิตในการอ้างอิง 128 bits)
    - ขยายหมายเลขได้มากกว่าเดิม 2 96 เท่า
    - สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง
    - ตรวจสอบการใช้งาน ความถกต้อง ความปลอดภัยได้มากขึ้น
     -ใช้ร่วมกับอุปกรณ์เดิมที่ใช้กับ IPv4 ได้
- 8.4.4.112 (จำนวนบิตแบ่งเป็น 4 ส่วน - ตัวเลขหมายถึงจำนวนบิต


Virus และ Trojan ต่างกันอย่างไร

Virus และ Trojan ต่างกันอย่างไร
1. Virus เป็นเพียงไฟล์ที่จะเข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้กับเครื่องหรือระบบ
เท่า นั้น เช่นการลบไฟล์บางตัวใน system หรือการ copy ตัวเองเพื่อให้
harddisk เต็ม
2 Trojan เป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่จะเข้ามาฝังตัวในเครื่องของเราและจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของ Trojan ที่ส่งมาให้เรา ประโยชน์ของเขานั้น
ก็เช่น อาจจะเป็นโปรแกรม keylock หรือที่มันจะ lock ID หรือ password
การป้องกันไม่ให้เครื่องโดนเจ้าโทรจันบุกรุก
1. ไม่รับไฟล์ใดทาง Internet จากคนแปลกหน้าไม่ว่าทาง E-Mail
2. ตรวจสอบไฟล์ที่รับทาง Internet ด้วยโปรแกรมตรวจจับTrojan
3. ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ

เปรียบเทียบระหว่าง UDP/ TCP Protocol

User Datagram Protocol (UDP) เป็นวิธีการสื่อสารหรือโปรโตคอลที่จำกัดจำนวนการบริการ เมื่อข่าวสารมีการแลกเปลี่ยน ระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) โดย UDP เป็นตัวเลือกหนึ่งของ Transmission Control Protocol (TCP) และใช้ร่วมกับ IP บางครั้งเรียกว่า UDP/IP ซึ่ง UDP เหมือนกับ TCP ในการใช้ IP ในการดึงหน่วยข้อมูล (เรียกว่า datagram) จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
แต่ต่างจาก TCP โดย UDP ไม่ให้การบริการสำหรับการแบ่งข่าวสารเป็นแพ็คเกต (datagram) และประกอบขึ้นใหม่เมื่อถึงปลายหนึ่ง UDP ไม่ให้ชุดของแพ็คเกตที่ข้อมูลมาถึง หมายความว่า โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ UDP ต้องมีความสามารถในการสร้างมั่นใจว่าข่าวสารที่มาถึงอยู่ในลำดับที่ถูกต้อง การประยุกต์เครือข่ายที่ต้องการประหยัดเวลาในการประมวลผล เพราะมีหน่วยข้อมูลในการแลกเปลี่ยน (ดังนั้น จึงมีข่าวสารน้อยมากในการประกอบขึ้นใหม่) จะชอบ UDP มากกว่า TCP ซึ่ง Trivial File Transfer Protocol (TFTP) ใช้ UDP แทนที่ TCP
       UDP ให้ 2 บริการที่ไม่มีใน TCP โดยเลเยอร์ของ IP คือ Port number เพื่อช่วยแยกแยะการขอของผู้ใช้ และความสามารถ checksum เพื่อตรวจสอบการมาถึงข้อมูล ในแบบจำลองการสื่อสาร Open System Interconnection (OSI) UDP เหมือนกับ TCP คือ อยู่ที่เลเยอร์ 4 Transport Layer
UDP : (User Datagram Protocol) - อยู่ใน Transport Layer ทำหน้าที่จัดการและควบคุมการรับส่งข้อมูล แต่ไม่มีกลไกความคุมการรับ ส่งข้อมูลให้มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ (unreliable, connectionless) โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแอพพลิเคชั่นเลเยอร์ แต่ UDP มีข้อได้เปรียบในการส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ unicast, multicast และ broadcast อีกทั้งยังทำการติดต่อสื่อสารได้เร็วกว่า TCP เนื่องจาก TCP ต้องเสีย overhead ให้กับขั้นตอนการสื่อสารที่ทำให้ TCP มีความน่าเชื่อถือในการรับส่งข้อมูลนั่นเอง
        จุดเด่น
User Datagram Protocol (UDP) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความเร็ว ขนาดเล็ก และไม่มีการทำงานเกี่ยวการส่งข้อมูลซ้ำหรือคำนวณอัตราการส่งข้อมูล ซึ่งจะเหมาะกับการส่งข้อมูลแบบ realtime ซึ่งข้อมูลที่สูญหายบางส่วนหรือข้อมูลที่เกิด delay จะถูกละความสนใจไปมันจะส่งข้อมูลได้เร็วกว่า แบบ TCP และจะไม่มีการสร้าง Connection เกิดขึ้น ทำให้ข้อมูลที่วิ่งในเครือข่ายมีน้อยลงด้วยเป็นการสื่อสารแบบ Connectionless คือข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ตามที่อยู่ปลายทาง แล้วผ่านตัวกลางไปยังปลายทาง อาจจะใช้เส้นทางคนละเส้นทางกันก็ได้ รวมทั้งข้อมูลแต่ละชิ้นอาจจะถึงก่อนหลังแตกต่างกันไปได้ด้วย ทำให้การเริ่มต้นส่งทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง Connection
จุดด้อย
ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างงานที่ใช้การสื่อสารแบบ UDP คือ การส่งสัญญาณเสียงดิจิทัล , Video